วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย

มีสาย


คำว่า FTTH ย่อมาจากคำว่าไฟเบอร์ทูเดอะโฮม ( Fiber to the Home) หมายความว่า นำสายใยแก้วนำแสง ส่งตรงถึงบ้านของลูกค้า (ปกติแล้วสายประเภทนี้ มีใช้กันอยู่แล้วภายในองค์กร หรือ ระหว่างองค์กร กับ องค์กร ) ซึ่งคุณภาพ และความเร็วในการ รับ-ส่ง สัญญาณ สูงกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันในระบบเอดีเอสแอล  หลายร้อย-พันเท่า  ซึ่งตัวเลขความเร็วที่ทางผู้ผลิตสายกล่าวถึงนั้น สามารถขึ้นได้สูงเป็นกิกะบิตต่อวินาที (Gbps) กันเลยทีเดียว

FTTH นั้น ความจริงชื่อกลางของมันคือ FTTx คำว่า x หมายถึงสถานที่ ที่สายใยแก้วนั้นไปถึง หากไปถึงบ้าน ก็จะเรียกว่า FTTH (Home) ไปถึงตึกจะเรียกว่า FTTB (Building) ไปถึงสำนักงานจะเรียกว่า  FTTO (Office) เป็นต้น

เทคโนโลยี FTTx ถูกใช้งานในหลากหลายประเทศแล้วไม่ว่าจะเป็น อเมริกา เกาหลี จีน และที่ถูกใช้งานอย่างมากที่สุดคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งราคาเมื่อเทียบกับ ADSL แล้วมีราคาแพงกว่าประมาณ 30% (ในปัจจุบัน) สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยีนี้มีเข้ามา  3-4 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีการใช้งานอย่างจริงจัง แต่ว่ามีการทดสอบกันอย่างจริงจังในบางพื้นที่แล้ว

แน่นอนว่าการใช้งานระบบ FTTx นั้นเราจะไม่สามารถใช้งานสายโทรศัพท์ปกติเหมือนเอดีเอสแอล ดังนั้นต้องมีการวางระบบ เพื่อสร้างโครงข่ายใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน โดยเริ่มตั้งปัจจัยพื้นฐานของอุปกรณ์ตั้งแต่ สายนำสัญญาณ รวมไปถึงอุปกรณ์ รับ-ส่ง สัญญาณ นั้นต้องใช้ใหม่ทั้งหมดเช่นกัน

เนื่องจากเรามีเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ที่นับวันมีความเร็วสูงขึ้นทุกวัน ผู้เสพข่าว หรือ ข้อมูล นั้นความคาดหวังย่อมต้องสูงขึ้นไปตามลำดับด้วย โดยจะมานำเสนอเพียงแค่ ข้อความอย่างเดียว (Plain Text) หรือ รูปภาพ  (Graphic) กันเหมือนสมัยก่อนไม่ได้แล้ว ตั้งแต่เรามีเอดีเอสแอล จะเห็นได้ว่า มีเว็บไซต์ผู้ให้บริการด้านการนำเสนอสื่อทางภาพและเสียง ออกมามากมาย อาทิ ยูทูบ (Youtube)
เฟซบุ๊ก (Facebook) และอื่น ๆ ที่ให้ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถผลิตเนื้อหาเองได้ง่าย ๆ การดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในส่วนมุมมองของผู้ผลิตเนื้อหา เราต้องทำเนื้อหาให้ดียิ่งขึ้นไป มีคุณภาพมากขึ้น โดยอาจเน้นไปที่คุณภาพการตัดต่อ ความคมชัดของภาพสูงแบบเฮชดี เพราะเดี๋ยวนี้ลูกค้าไม่ได้เสพเนื้อหาจากเราเพียงฝ่ายเดียวแล้ว ลูกค้ายังสามารถผลิตเนื้อหาเอง และส่งหาซึ่งกันและกันได้อีกด้วย แต่ส่วนมากอัดจากสมาร์ทโฟน ซึ่งการแข่งขันก็ต้องสูงขึ้นไปตามลำดับ

หากมีเทคโนโลยี FTTx แล้ว ไม่ใช่เพียงแค่ดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ 5-10 นาทีบน
ยูทูบอีกแล้ว แต่ต่อจากนี้ไปผู้ผลิตเนื้อหา จะสามารถผลิตรายการโทรทัศน์ผ่านโทรทัศน์จริง ๆ (ไม่ได้ผ่านจอคอมพิวเตอร์) ดูกันออนไลน์ 24 ชั่วโมง โดยไม่มีติดขัด นอกจากนี้ ยังมีระบบทีวีออนดีมานด์ ให้ผู้ชมสามารถเลือกรับรายการโทรทัศน์ที่ตัวเองต้องการดู
ได้เอง

ใครต้องการความรู้เรื่อง FTTx นี้เพิ่มเติม ว่าคืออะไร   แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย ทาง ไทยแวร์ดอตคอม (Thaiware.com) ได้จัดงานเสวนาแนวใหม่ภายใต้ชื่อ IT iTrend by Thaiware ในหัว
ข้อ “FTTH เน็ตมีสายเร็วเปลี่ยนโลก” ในวันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 นี้ที่ เค เอสเอ็ม อี แคร์ โนว์เลจเซนเตอร์  ชั้น 2 อาคารจามจุรีสแควร์ เวลา 12.00-16.00 น. ผู้เข้าร่วมฟังลงทะเบียนได้ที่ http://activity.thaiware.com ฟรีทุกคน ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

ไร้สาย
WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่าจะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้ โดย WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้อนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว

โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) ได้พร้อม ๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรืออาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX ช่วยให้ผู้ที่ใช้งานสามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 30 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่น ๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

จากจุดเด่นในทำงานของ WiMAX ข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตอบสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกลที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพื่อความสะดวกสบายและประหยัดสำหรับการขายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้วได้ เนื่องจากไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วได้ นอกจากนั้น WiMAX หรือบรอดแบนด์ไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (Video) หรือการใช้งานเสียง (Voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเก่า (Low Lantency Network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาติ (Authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และข้อมูลต่าง ๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (Encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามารถนำ WiMAX ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของเทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนองความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่

สำหรับมาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX ที่มีการพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้

IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-16 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)

IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา (NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวาง ด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 30 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที 1 (T1-Type) กว่า 60 ราย และการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อ
 
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น