วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนักอาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กันเช่น ภายในมหาวิทยาลัยอาคารสำนักงานคลังสินค้าหรือโรงงานเป็นต้นการส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย

MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร
WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
 เป็น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้
 
แบ่งตามลักษณะ การไหลของข้อมูล มีดังนี้
โครงข่ายแบบรวมอำนาจ (Centralized Networks)

โครงข่ายแบบรวมอำนาจนี้ประกอบด้วยรูปแบบย่อย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
                - โครงข่ายแบบล้อ (Wheel Network) เป็นรูปแบบที่รวมอำนาจมากที่สุด ข่าวสารทุกอย่างจะต้องไหลผ่านบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของล้อ
                - โครงข่ายแบบลูกโซ่ (Chain Network) เป็นรูปแบบที่สมาชิกบางคนสามารถติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนอื่น ๆได้มากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตามบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของลูกโซ่ยังคงเป็นผู้ควบคุมข่าวสารทั้งหมด
                - โครงข่ายแบบ Y (Y Network) เป็นรูปแบบผสมระหว่างแบบล้อกับแบบลูกโซ่

โครงข่ายแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Network)

                   - โครงข่ายแบบวงกลม (Circle Network) เป็นรูปแบบที่อนุญาตให้สมาชิกแต่ละคนสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ อยู่ติดกันได้ทั้ง 2 ข้าง
                - โครงข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจมากที่สุด รูปแบบนี้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนที่จะติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนใดก็ได้ โดยไม่จำกัดเสรีภาพ

แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

งานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone)

ข้อดีและข้อด้อยของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

Ò  ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่ายในการจัดตั้งระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
   

Ò  ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ

ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

                                                            รูปแสดงตัวอย่างโครงสร้างระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง

เลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบเครือข่าย

เทคโนโลยีระบบเครือข่าย LAN

LAN (Local Area Network) คือเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงและทนทานต่อการเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรับส่งข้อมูล เครือข่าย LAN นั้นจะครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก โดยปกติจะเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ไม่ห่างกันมากนัก
อีเทอร์เน็ต (Ethernet)

อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณ เส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub)

        วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก
        ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที

โทเก็นริง (Token Ring)

โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่เกิดการสูญหายของข้อมูล

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)

การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแบบไร้สาย นั้นมีอยู่ 2 เทคโนโลยี คือ แบบใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) และแบบใช้สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งแบบใช้คลื่นความวิทยุยังแบ่งการส่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Narrowband และ Spread-Spectrum ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

            แบบคลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) ใช้ลักษณะการแปลงข้อมูลไปเป็นคลื่นทำให้สามารถส่งไปได้ระยะทางที่ไกล สามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี ร่วมทั้งเป็นการส่งแบบทุกทิศทาง

การรับส่งโดยใช้คลื่นวิทยุนั้นมี 2 ประเภท

        1.แบบคลื่นความถี่แคบ (narrowband) จะรับส่งข้อมูลโดยแปลงเป็นบางช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า ISM ( Industrial / Scientific / Medical ) ที่มีความถี่แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 902-928 MHz, 2.14 - 2.484 MHz และ 5.725 - 5.850 MHz โดยการใช้งานต้องมีการขออนุญาตก่อนจาก FCC (Federal Communication Committee)

        2. คลื่นความถี่วิทยุแบบ Spread-Spectrum เป็นการวิธีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ความถี่วิทยุ มากกว่าความต้องการเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนและการดักฟัง ที่มีความถี่แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 902 - 928 MHz และ 2.4 - 2.484 MHz ซึ่งไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก FCC

แบบสัญญาณอินฟราเรด (Infrared)

โดยอินฟราเรดเป็นส่วนหนึ่งของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่เหนือคลื่นวิทยุ และต่ำกว่าแสงที่มองเห็น โดยแสงอินฟราเรดสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงแม้ว่าการส่งจะถูกจำกัดให้เป็นแนว เส้นตรง และที่จะต่อเครื่องพีซีเข้ากับเครื่องพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยไร้สาย

                                                       รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย

                                                                        รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย
เลือกระบบปฏิบัติการที่ใช้ในระบบเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบัน

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบันมีอยู่หลายตัวให้เลือกใช้ ทั้งที่สามารถใช้งานได้ ฟรี และต้องเสียค่าใช้จ่าย จำเป็นที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาเลือกให้มีความเหมาะสมมากที่สุดกับ ระบบเครือข่ายที่ออกแบบไว้
                   -  Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์

               - Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆไป

                - NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้

                - OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การออกแบบระบบ

เมื่อผู้ออกแบบระบบเครือข่ายมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนั้นก็สามารถลงมือทำ การออกแบบระบบเครือข่ายได้ โดยในการออกแบบเครือข่ายนั้นอาจทำโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดและออกแบบได้ เช่น Microsoft Visio

                                                    รูปแสดงตัวอย่างการออกแบบระบบเครือข่าย
การติดตั้งและพัฒนาระบบ

ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบระบบเครือข่ายอาจมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญการ ทำการ ติดตั้งได้หรือมอบหมายให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเขามาดำเนินการ โดยจะต้องเขาควบคุม ตรวจสอบให้การติดตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและใช้งานได้อย่างดีตามที่ได้ออกแบบไว้
เอกสารอ้างอิง
การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. (Network Process Design)

dusithost.dusit.ac.th/~surasit_son/.../chater5Process_Network.pdf


การออกแบบระบบเครือข่าย
http://www.kruchanpen.com/network/design.htm

http://www.slideshare.net/tumswapmaj/6-9461525

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

การรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย

ในระบบเครือข่ายนั้นจะมีผู้ร่วมใช้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ประสงค์ดีและประสงค์ร้ายควบคู่
กันไป สิ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ ในระบบเครือข่ายก็คืออาชญากรรมทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายประเภทด้วยกัน
เช่น พวกที่คอยดักจับสัญญาณผู้อื่นโดยการใช้เครื่องมือพิเศษจั๊มสายเคเบิลแล้วแอบบันทึกสัญญาณ พวกแคร๊กเกอร์
(Crackers) ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์แต่มีนิสัยชอบเข้าไปเจาะระบบคอมพิวเตอร์ผ่าน
เครือข่าย หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Computer) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยมุ่งหวัง
ในการก่อกวน หรือทำลายข้อมูลในระบบ

            การรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายมีวิธีการกระทำได้หลายวิธี คือ
1. ควรระมัดระวังในการใช้งาน การติดไวรัสมักเกิดจากผู้ใช้ไปใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับผู้อื่น แล้วแผ่นนั้นติดไวรัสมา
หรืออาจติดไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์มาจากอินเทอร์เน็ต
2. หมั่นสำเนาข้อมูลอยู่เสมอ การป้องกันการสูญหายและถูกทำลายของข้อมูลที่ดีก็คือ การหมั่นสำเนา
ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

3. ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส  วิธีการนี้ สามารตรวจสอบ และป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้
ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการป้องกันได้ทั้งหมด เพราะว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

4. การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) ไฟร์วอลล์จะทำหน้าที่ป้องกันบุคคลอื่นบุกรุกเข้ามาเจาะเครือข่ายในองค์กร
เพื่อขโมยหรือทำลายข้อมูล เป็นระยะที่ทำหน้าที่ป้องกันข้อมูลของเครือข่าย โดยการควบคุมและตรวจสอบการรับส่ง
ข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

5. การใช้รหัสผ่าน (Username & Password) การใช้รหัสผ่านเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นแรก
ที่ใช้กันมากที่สุด เมื่อมีการติดตั้งระบบเครือข่ายจะต้องมีการกำหนดบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน หากเป็นผู้อื่นที่
ไม่ทราบรหัสผ่านก็ไม่สามารถเข้าไปใช้เครือข่ายได้ หากเป็นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็ควรมีการเปลี่ยน
รหัสผ่านบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็นระบบออนไลน์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ ในเครือข่ายย่อมมีผู้ประพฤติไม่ดีปะปนอยู่ซึ่งก่อให้เกิด
ปัญหาต่อส่วนรวมอยู่เสมอ
                แต่ละเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตน
ยึดถือและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ จะช่วยให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับประโยชน์สูงสุด และป้องกันปัญหาที่เกิด
จากผู้ใช้บางคนได้ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ ข้อบังคับของเครือข่ายที่ตนเองเป็นสมาชิก
จะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไป
ขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   
                   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้บริการอยู่ มิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้เป็น
สมาชิกอยู่เท่านั้น แต่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน มีข้อมูลข่าวสาร
วิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายมากมาย การส่งข่าวสารลงในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสาร กระจายไปยังเครือข่ายอื่นๆ เช่น
การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายหลายเครือข่าย จนกว่าจดหมายฉบับนั้นจะ
เดินทางถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหา ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่ง
อยู่บนเครือข่าย แม้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะได้รับสิทธิ์จากผู้บริหารเครือข่ายให้ใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายนั้นได้
ผู้ใช้จะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เครือข่ายนั้นวางไว้ด้วย ไม่พึงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำการใดๆ ที่จะสร้างปัญหา
หรือไม่เคารพกฏเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายนั้นอย่าง
เคร่งครัด

                การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่
น่าใช้และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ผู้ใช้จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายข่าวลือ
จำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจายไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่
เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นผลเสียต่อส่วนรวม และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต

การแชร์ปริ้นเตอร์ บน windows 7

บทความนี้กะว่าจะทำอยู่ตั้งนานแล้ว แต่ก่อนหน้านี้อุปกรณ์ต่างๆมันไม่เอื้ออำนวยเอาเสียเลย เพราะเมื่อก่อนมีคอมแค่เครื่องเดียวและไม่มีปริ้นเตอร์ แล้วตอนนี้ก็เริ่มประจวบเหมาะ ก็เลยหาเวลามาอัพเดตเนื้อหาให้สักหน่อยครับ

Note. วิธีการแชร์ปริ้นเตอร์ด้วยวิธีนี้จะลดขั้นตอนการติดตั้งไดร์เวอร์ปริ้นเตอร์จากการรับการแชร์ที่เครื่องลูกไปได้ด้วย แต่จะมีข้อเสียที่เครื่องลูกไม่สามารถปรับแต่งคุณสมบัติการพิมพ์ใดๆของตัวปริ้นเตอร์ได้ และหากเป็นการสั่งแชร์ในวงแลนเดียวกัน ตัว Workgroup ก็ต้องมีชื่อเดียวกันด้วยนะครับ

อันดับแรกก็ต้องเซ็ตเครื่องปริ้นเตอร์ที่ต้องการแชร์ให้เป็นปริ้นเตอร์เครื่องหลักก่อน (กรณีที่มีเครื่องปริ้นเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง) และระบบที่ผมได้นำมาทำเป็นบทความนี้ จะทำโดยให้เครื่องหลักซึ่งเป็น Windows 7 เสียบเครื่องปริ้นเตอร์เอาไว้ แล้วทำการแชร์ให้เครื่องลูกที่เป็น Windows XP ได้เรียกไปใช้งานกัน โดยเข้าไปเปิดการใช้งานปริ้นเตอร์ใน Control Panel -> Network and Sharing Center


คลิกหัวข้อ Change advanced sharing settings


ที่หัวข้อ File and printer sharing คลิกเลือก Turn on file and printer sharing แล้วกด Save change


แล้วเข้าไปที่ Control Panel -> Devices and Printers -> เลือก Set as default printer (หรือถ้าที่ไอคอนของปริ้นเตอร์ถูกติ๊กเครื่องหมายถูกเอาไว้อยู่ก่อนแล้ว ก็ข้ามไปทำในรูปที่ 5 ได้เลย)


ตั้งค่าเพื่อแชร์ปริ้นเตอร์ โดยเลือก Printer properties


หน้าต่างกำหนดคุณสมบัติของปริ้นเตอร์จะถูกเปิดขึ้นมา ให้เลือกแท็บ Sharing แล้วติ๊กถูกหน้าหัวข้อ Share this printer และ Render print jobs on client computers -> Apply -> OK


ก็เป็นอันเสร็จสิ้นในฝั่งของเครื่องหลัก Windows 7 ที่สั่งแชร์ปริ้นเตอร์ครับ

ลำดับต่อไป เราก็ไปที่ฝั่งเครื่องลูกกันบ้าง เพื่อตั้งค่าให้เครื่องลูกได้เรียกใช้งานกัน โดยคลิก Start -> Run แล้วพิมพ์ \\Admin-PC (ตรง Admin-PC จะหมายถึงชื่อของเครื่องหลักที่สั่งแชร์ปริ้นเตอร์เอาไว้)

การแชร์ไฟล์ในเครือข่ายด้วย windows 7

1. อันดับแรกเราต้องทำการเปิดการแชร์ของ network ที่เราใช้อยู่เสียก่อนให้เข้าไปที่ control panel  -> Network and Internet -> Network and Sharing Center เมื่อกดเข้ามาแล้วจะพบกับหน้าต่างดังภาพ

2. คลิ๊กเลือกไปที่ Change advanced sharing setting เพื่อเข้าสู่เมนูของการปรับแต่งค่าของ Network ซึ่งจุดนี้สำคัญเราต้องปรับค่าให้ตรงกับ Network ที่เราใช้อยู่ โดยทั่วไปจะมี Home , Work network และ Public ซึ่งถ้าเราใช้ Network ตัวไหนอยู่ก็ให้ทำการปรับค่าที่ Network นั้นซึ่งในตัวอย่างเป็น Network แบบ Public เมื่อกดเข้าไปเราหาเมนูดังภาพด้านล่าง
3. ทำการเปิด Network discovery , File and printer sharing และ Public folder sharing โดยติ๊กเลือกที่ Turn on ดังภาพด้านบน จากนั้นเลื่อนลงมาด้านล่างสุดหาคำว่า Password protected sharing ทำการ Turn of ค่านี้ดังภาพด้านล่าง
4. เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยให้กด Save Change แล้วปิดหน้าต่างออกมาได้เลย จากนั้นมาเข้าสู่กระบวนการแชร์ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟโดยทำนำเมาส์ไปชี้ที่ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่ต้องการจะแชร์ คลิ๊กขวาเลือก properties เพื่อเรียกหน้าต่างสำหรับปรับแต่งค่าขึ้นมา จากนั้นเลือกไปที่หัวข้อ Sharing จากนั้นเลือกไปที่ Share คลิ๊กหนึ่งครั้ง




5. เมื่อคลิ๊กที่คำสั่ง Share แล้วจะปรากฏหน้าต่างสำหรับกำหนดสิทธิ์ ตรงจุดนี้ไม่ต้องใส่ใจเลือกคลิ๊กไปที่ Share ที่อยู่ด้านล่างได้เลยดังภาพ

6. เมื่อเสร็จสิ้นการแชร์แล้ว เราจำเป็นจะต้องกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่เราได้ทำการแชร์เมื่อครู่นี้โดยเลือกไปที่หัวข้อ Security เพื่อทำการกำหนดสิทธิ์โดยเมื่อคลิ๊กเข้าไปก็จะพบกับหน้าต่างดังภาพด้านล่าง

7. เลือกไปที่ Edit เพื่อเข้าสู่เมนูการเพิ่มสิทธิ์ จากนั้นเลือกไปที่ add

8. พิมพ์คำว่า everyone ลงในช่อง Enter the object names to select จากนั้นกด Check Name หากพิมพ์ถูกต้องก็จะปรากฏคำว่า Everyone ขึ้นมาดังภาพด้านล่างจากนั้นกด OK

9. เมื่อทำการเพิ่มชื่อแล้วให้กลับมาดูที่ช่องของการกำหนดสิทธิ์ในส่วนของ Group or user names ถ้ามี Everyone ปรากฎอยู่ก็เป็นอันเสร็จให้กด OK ออกมาได้เลยเท่านี้เครื่องเราก็จะสามารถทำการแชร์ไฟล์ได้ตามปกติแล้ว

การเข้าหัว RJ-45


                 
 1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าหัวประกอบด้วย
     - สายสัญญาณ หรือ UTP Cable  
     - หัว RJ45 (Male)  
     - Modular Plug Boots หรือตัวครอบสาย  
     - Wry Marker ใช้สำหรับกำหนดหมายเลขของปลายสายทั้งสองข้าง
     - คีมแค้มสายสัญญาญ (Crimping Tool)  
     - มีดสำหรับปอกสายสัญญาณ  
    
  
 รูปที่1 รูปที่2
    
 2. ใช้มีัดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือ แต่สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้น โดยเหลือความ ยาวประมาณ 1.5 ซ.ม. (ดังรูปที่ 1) หลังจากนั้นใส่ Modular Plug Boots เข้ากับสายสัญญาณด้านที่กำลัง จะทำการเข้าหัว (ดังรูปที่ 2)
    
  
 รูปที่3 รูปที่4
    
 3. ทำการแยกสายสัญญาณทั้ง 4 คู่ที่บิดเกลียวอยู่ออกเป็นคู่ๆ ก่อน โดยแยกตามลำดับดังนี้
 ส้ม - ขาวส้ม --> เขียว - ขาวเขียว --> น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน --> น้ำตาล - ขาวน้ำตาล
หลังจากนั้นทำการแยกแต่ละคู่ออกเป็นเส้น โดยไล่สีตามลำดับดังนี้
 ขาวส้ม --> สัม --> ขาวเขียว --> น้ำเงิน --> ขาวน้ำเงิน --> เขียว --> ขาวน้ำตาล --> น้ำตาล
เมื่อไล่สีตามลำดับแล้วทำการจัดเีรียงสีต่างๆ ให้สายแต่ละเส้นเรียงชิดๆ กัน ดังรูปที่ 4
    
 4. ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่ให้มีปลายสายที่เรียง เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวพอประมาณ จากนั้นเสียบสายเข้าไปในหัว RJ45 ที่เตรียมไว้  โดยค่อยๆ  ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่างของหัว RJ45
    
 5. จากนั้นนำสายสัญญาณที่ได้เข้าหัวเรียบร้อย ใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของหัว RJ45 ของคีมที่ใช้แค้มหัวให้ ลงล็อกของคีมพอดี   และทำการกดย้ำสายให้แน่นเพื่อให้ Pin ที่อยู่ในหัีว RJ45   นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ ใส่เข้าไป